ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 มีอะไรอัพเดทบ้าง

ภาษีที่ดินและสิงปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี พ.ศ.2563 หลังจากติดตามข่าวกันมาอย่างยาวนาน ในที่สุด “ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง”ก็ประกาศใช้แล้ว โดยเริ่มจัดเก็บ และ มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องดำเนินการชำระภาษีครั้งแรกภายในเดือน เมษายน พ.ศ. 2563 หลักการของภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างแบบอธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง หรือ ที่ภาษากฎหมายเรียกว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะมีหน้าที่เสียภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง โดยคิดจากราคาประเมินที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างนั้น นำมาคูณด้วยอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยความเป็นเจ้าของ หรือ กรรมสิทธิ์ จะดูกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เช่น ถ้าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 มีชื่อคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้างนั้น ก็หมายถึงคุณต้องทำหน้าที่เสีย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นั้น ๆ นั่นเอง

3 ข้อสำคัญที่ต้องรู้ เรื่องของ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 สิ่งที่ต้องรู้ เมื่อคำนวณภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

1️⃣ตัวเรา

เป็นเจ้าของทรัพย์สินอะไรบ้าง (ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง)

2️⃣ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง มีอยู่ 3 อย่าง

1️⃣ที่ดิน

2️⃣สิ่งปลูกสร้าง บ้าน อาคาร โกกดัง

3️⃣อาคารชุด หรือ คอนโด

ถ้าเราเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ที่ว่ามา 3 อย่างนี้ แปลว่าเราต้องเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง  แต่อย่าพึ่งตกใจไป เพราะทรัพย์สินที่ว่ามานี้ มีการเสียภาษี ที่แตกต่างกัน ตามประโยชน์ การใช้งาน นอกจากนั้นยังมีการยกเว้นให้ในบางเรื่อง เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เพิ่มเติม ทรัพย์สินที่เรามีมันต้องเสียภาษีในลักษณะใหน มันใช้งานอย่างไร

3️⃣ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เราไม่ต้องไปยื่นเรื่องเอง

เพราะเขาจะส่งเอกสารมาให้เรา เป็นเอกสาร เรื่องการประเมินภาษี ปี 2565 (ซึ่งเอกสารนี้เขายังไม่ได้ประเมินภาษี) เป็นเอกสารที่แจ้งว่า เรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง โฉนดเลขที่อะไร มีพื้นที่เท่าไหร่ และ การใช้ประโยชน์แบบใหน ซึ่งตรงนี้ จะเกี่ยวข้องกับภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง นั่นเอง นอกจากนั้น ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง จะไม่เหมือนภาษีเงินได้ (VAT) ที่เราต้องยื่นกับสรรพากร เพราะ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างนี้ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี จะส่งใบประเมินมาให้เราถึงบ้าน ซึ่งใบประเมินนี้เราก็นำไปเสียภาษีได้เลย โดยที่เราไม่ต้องยื่นเอกสาร อะไรเลย


เมื่อเราเข้าใจ 3 ข้อนี้แล้ว เรามาทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้กันต่อครับ ความสำคัญแรก เรื่องของความเป็นเจ้าของ เรามีหน้าที่เสียภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เมื่อเรามีความเป็นเจ้าของ เพราะคนที่ต้องเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ต้องเป็น “เจ้าของ” ที่ดิน และ สิ่งปลุกสร้าง หรือ พูดง่ายๆ เราเรียกว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์

ความเป็นเจ้าของ ในทางกฎหมาย นับตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ถ้าวันที่ 1 มกราคม เราเป็นเจ้าของที่ดิน  สิ่งปลูกสร้าง หรือ คอนโด แบบใหนก็ตาม นั่นแปลว่า ปีนั้นเรามีหน้าที่เสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ความเป็นเจ้าของ เป็นได้ทั้ง บุคคล และ นิติบุคล เช่น บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ใครเป็นเจ้าของก็มีหน้าที่เสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ทั้งหมด และ ที่สำคัญ ก็คือ (เน้นนะครับ) เราต้องมีความเป็นเจ้าของ คือ มีหลักฐาน ว่าเราเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง อันนี้สำคัญมากๆ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

วิธีการคำนวณ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง  คำนวณจากอะไร

สูตรของการคำนวณ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง คือ “ฐานภาษี คูณ อัตราภาษี” ฐานภาษี มาจากราคาประเมิณ เป็นราคากลาง ที่เขากำหนดมาให้ เขาที่ว่านี้ ก็คือ รัฐบาล หรือ ถูกประเมิณโดย กรมธนารักษ์ เขาจะกำหนดราคาประเมิณมาให้เลยว่าเท่าไหร่ และ ราคาประเมิณนี้ก็มีข้อยกเว้น เรื่องมูลค่าการใช้งาน เรื่องของค่าเสื่อมต่างๆ  ที่เรานำมาหักออกได้  ตัวต่อมาคือ อัตราภาษี ของที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ขึ้นอยู่กับการใช้งาน แบ่งการใช้งานออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1️⃣เกษตรกรรม

2️⃣ที่อยู่อาศัย

3️⃣อื่น ๆ

4️⃣ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง 4 ประเภทนี้ เสียภาษีไม่เท่ากัน เพราะอัตราภาษีมีความแตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการคำนวณ ก็คือ ราคาประเมิณ คูณด้วย อัตราภาษีนั่นเอง หลายคนเคยได้ยิน ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง มีการลด มีการยกเว้น ให้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ในการยกเว้น

1️⃣ : ยกเว้นจากมูลค่า

ซึ่งกฎหมายเขากำหนดราคาประเมิณมาก็จริง แต่เขาก็มีเกณฑ์ บางอย่างที่ยกเว้นราคาประเมิณให้ หรือ เอามาหักออกได้ ซึ่งตรงนี้มันก็ทำให้ ตัวฐานภาษี หรือ ราคาประเมิณมันลดลง

2️⃣ : ลดอัตราภาษีที่ต้องจ่าย

กลุ่มเกษตรกรรม กลุ่มที่อยู่อาศัย กลุ่มอื่นๆ และ กลุ่มที่ดินรกร้างว่างเปล่า มีการลดอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท

3️⃣ : การลดภาษีเป็นกรณีพิเศษ


ประเภทที่ 1 : การยกเว้นมูลค่า

การยกเว้นมูลค่าที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง มูลค่ายกเว้น หรือ ที่เรานำไปหักออกจากราคาประเมิณได้เลย เขาคิดกันอย่างไร สำหรับเรื่องของมูลค่ายกเว้นที่จะนำไปหักออกจากราคาประเมิณ โดยทั่วไปที่เรารู้จักจะมีอยู่ 2 กลุ่ม

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

กลุ่มที่ 1 : กลุ่มของเกษตรกรรม

ถ้าใครคุ้นเคยมาบ้างก็จะจำได้ว่าเป็น “บุคคลธรรมดา ที่ทำการเกษตร” ใช้พื้นที่นั้นทำการเกษตร เขายกเว้นให้เลย ไม่ต้องเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง กลุ่มนี้เท่ากับราคาประเมิณหายไปเลย ถึงแม้ว่าจะมีที่ดินราคาเท่าไรก็ตาม กลุ่มนี้ยกเว้นหมดเลย ไม่ต้องเสียภาษี แต่กฎหมาย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 การยกเว้น จะไม่ได้ยกเว้นแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แล้ว หลังจาก ปี 2565 เป็นต้นไป การยกเว้นที่ว่านั้น กลุ่มของเกษตรกรรม เขาจะเว้นให้ มูลค่าที่ดิน ไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ส่วนที่เกิน ก็ยังเสียภาษี ซึ่งการยกเว้น 50 ล้านบาท (มูลค่าที่ดิน) จะยกเว้นแต่ละ องศ์การปกครองส่วนท้องถิ่น

กลุ่มที่ 2 : ที่อยู่อาศัย

หลายคนคงคุ้นเคย เราได้ยินกันว่า มีบ้านหลังหลัก มีบ้านหลังแรก ไม่ต้องเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เป็นการยกเว้นภาษีสำหรับคนที่ใช้ประโยชน์ ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็น บ้านพร้อมที่ดิน สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินคนอื่น หรือ แม้แต่ คอนโด อาคารชุด ในกรณีนี้ ถ้าคุณมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน คุณจะได้รับการยกเว้น

กรณีที่ 1

ถ้าเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง หรือ เป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดิน เขาจะยกเว้นราคาประเมิณให้เลย 50 ล้านบาท หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเกิดราคาประเมิณ บ้านพร้อมที่ดิน ของเรา มีราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท แปลว่าเราไม่ต้องเสียภาษี

กรณีที่ 2

สิ่งปลูกสร้างบนทที่ดินคนอื่น เราไปปลูกบ้านบนที่ดินคนอื่น ราคาประเมิณที่ยกเว้นให้ คือ 10 ล้านบาท

กรณีที่1 และ กรณีที่2 จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เขากำหนดไว้ โดยจะต้องมีชื่อเราอยู่ในทะเบียนบ้านทรัพย์สินหลังนั้นด้วย ถึงจะได้รับสิทธิ์นี้ ดังนั้น จึงมีคำพูดว่า “เป็นบ้านหลังหลัก หรือ บ้านหลังแรก ต้องเป็นเจ้าของ และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั่นเอง” เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น คำว่ามีชื่อ ในทะเบียนบ้าน กับ คำว่าเจ้าของ และ เจ้าบ้าน แตกต่างกันดังนี้

เจ้าของ คือเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีหน้าที่เสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง (ย้ำ) เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องมีชื่ออยูในทะเบียนบ้าน

เจ้าบ้าน คือ คนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรรมสิทธิ์ อาจจะเป็นคนทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลบ้านหลังนั้น (เจ้าบ้านอาจจะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ได้) ดังนั้นอย่าเข้าใจผิด ว่าเป็นเจ้าบ้านแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษี สรุป เป็นเจ้าของทรัพย์สิน (เจ้าของกรรมสิทธิ์) และ มีชื่ออยูในทะเบียนบ้าน จึงจะได้รับการยกเว้น

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ประเภทที่ 2 : การลด อัตราภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง

การลดอัตราภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ตามการใช้งาน มีความน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง

1.เกษตรกรรม

2.ที่อยู่อาศัย

กฎหมายเขามีแนวทางบอกมาเลยว่า แบบใหนเขาถึงเรียกว่าเกษตรกรรม จะมีประกาศเพิ่มเติม ว่าถ้าปลูกกล้วย ต้องมีนำนวนเท่านี้ ปลูกมะนาวจะต้องมีจำนวนเท่านี้ ถึงจะเรียกว่าเกษตรกรรมได้ ตัวนี้กฎหมายจะเป็นตัวกำหนดไว้ให้ ส่วน ที่อยู่อาศัย เขาก็มีกฎหมายกำหนดไว้เช่นกันครับ ความหมายของที่อยู่อาศัย เช่น เรามีคอนโดแล้วปล่อยให้เช่า มีบ้านให้เช่า หรือ หอพักให้เช่า รวมถึงโฮมสเตย์ ต่างๆ ที่ยังไม่ได้จดประกอบการเป็นธุรกิจเกี่ยวข้องกับโรงแรม หรือ ที่พัก กลุ่มนี้ยังได้สิทธิ์ในการเสียภาษีในอัตราของที่อยู่อาศัยครับ เพราะยังถือว่าใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัย

มาดูอัตราลดกันบ้างครับ ตามจริงแล้ว อัตราภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง จะมีอัตราที่สูงกว่านี้ครับ แต่กฎหมายมีการปรับลดให้ ที่ออกมาต่ออายุการปรับลดอัตรา ภาษี ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ต่อ ซึ่งตรงนี้ สำหรับที่อยู่อาศัย จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1️⃣ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง (มีชื่อในทะเบียนบ้าน)

2️⃣สิ่งปลูกสร้าง ไม่มีที่ดิน เช่าที่ดิน  (มีชื่อในทะเบียนบ้าน)

3️⃣ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง (กรณีไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน)

สำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง บอกได้เลยว่า ในกรณีที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เราอยู่ได้หลังเดียว เราใส่ชื่อในทะเบียนบ้านได้ทีละหลัง ดังนั้นถ้าเรา มีบ้าน 2 หลัง เป็นที่อยู่อาศัยทั้งคู่ หลังแรกเราเอาชื่อใส่ในทะเบียนบ้าน บ้านอีกหลังเราจะเสียภาษี ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ข้อที่3 (ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง กรณีที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน) เสียตามอัตราที่กฎหมายกำหนด  คือ ถ้าทรัพย์มีสินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 0.02 เปอร์เซ็นต์ (ล้านละ 200 บาท) นั่นเอง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

กลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ไช่อยู่ใน กลุ่มที่อยู่อาศัย และ กลุ่มเกษตรกรรม เช่น คนทำธุรกิจประกอบกิจการพาณิชยกรรมต่าง ๆ จะเสียอัตราภาษีอีก เรทหนึ่ง ส่วนในกลุ่มที่ดินรกร้างว่างเปล่า ณ ปัจจุบัน ยังเสียอัตราภาษีเท่ากับกลุ่มอื่น ๆ แต่จะแตกต่างไป ก็คือ อัตราภาษีของกลุ่มที่ดินรกร้างว่างเปล่า จะปรับขึ้น ทุก ๆ 3 ปี ปรับขึ้น ในอัตรา 0.3 เปอร์เซ็นต์ ปรับไปจนถึงจุดสูงสุด ของอัตราภาษีที่กำหนดไว้ คือ 3 เปอร์เซ็นต์ และ คงอัตรานี้ไปตลอด

ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง วัตถุประสงค์ของมันจริง ๆ ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเก็งกำไร ดังนั้น ในกลุ่มของที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่นักลงทุนซื้อไว้ เพื่อการเก็งกำไร กลุ่มนี้ต้องเสียภาษีแพงกว่ากลุ่มอื่นนั่นเอง

ตารางเปรียบเทียบ

อัตราภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ที่ใช้งานกันคนละประเภทจะเสียภาษีแตกต่างกันตามนี้ครับ ซึ่งถ้าดูในตารางนี้ คนที่มีบ้านหลังเดียว และ เป็นที่อยูอาศัย อาจจะไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะว่าถ้าราคาประเมิณไม่เกิน 50 ล้านบาท เราก็ไม่ได้เสียภาษีอยู่ดี แต่คนที่มีบ้านหลายหลัง จะต้องเสียภาษีแล้วครับ เพราะว่า เราเอาชื่อใส่ในทะเบียนบ้าน ได้แค่หลังเดียว รวมถึงถ้าใครมีที่ดิน ที่เป็นพาณิชยกรรม หรือ รกร้างว่างเปล่า กลุ่มนี้จะเสียภาษีในอัตราที่สูง ถ้าเทียบกับราคาประเมิณที่เท่ากัน สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กลุ่มเกษตรกรรม และ กลุ่มที่อยู่อาศัย จะเสียภาษีต่ำ ส่วนกลุ่มอื่น ๆ และ กลุ่มที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ประเภทที่ 3 : การลดภาษีให้กรณีอื่น ๆ

เพราะภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เมื่อคำนวณออกมาแล้ว กฎหมายยังมีการลดเพิ่มเติมให้อีก มีอะไรบ้างเรามาดูกันครับ จริง ๆ แล้ว ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง มีการลดมากกว่าที่อยู่ในตารางนี้นะครับ แต่จะหยิบประเด็น ที่หลายคนอาจคุ้นเคยมาให้ดู

🔹ลดให้ 50 เปอร์เซ็นต์ ถ้าโอนมาโดยมรดก

🔹ลดให้ 90 เปอร์เซ็นต์ กรณีเป็นที่ดิน ที่ใช้เพื่อการศึกษา

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นใน ปี 2565 ที่ต่างจาก ปี 2563 และ ปี 2564 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2563 และ ปี 2564 มีกฎหมายออกมาเนื่องจากสถานการณ์ โควิด เขาลดภาษีให้เพิ่มเติม 90 เปอร์เซ็นต์ ทุกกลุ่ม ดังนั้นใครที่เสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ใน 2 ปีที่ผ่านมา ย้ำตรงนี้นะครับ เราเสียถูก เพราะเราเสียภาษีแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ ของภาษีที่ต้องเสีย ปี 2565 กระทรวงการคลังประกาศไม่ลดต่อแล้ว ดังนั้นแปลว่า ปี 2565 เป็นต้นไป จะกลับไปเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ในอัตรา 100 เปอร์เซ็นต์ คิดจาก อัตราภาษี คูณด้วย ราคาประเมิณเต็มๆ ไม่มีการลดในส่วนที่ 3 นี้ (ลดเพิ่มเติม 90 % ) ซึ่งจะทำให้ยอดของการเสียภาษีของทุกคนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ตรงนี้ต้องเช็คให้ดีครับ ปี 2564 เราเสียภาษีเท่าไหร่ ปีนี้ (ปี 2565) น่าจะเสียภาษีเพิ่มขึ้น บางท่าน ปี 2564 เคยเสียภาษี แค่หลักร้อย ปีนี้ (ปี 2565 ) น่าจะเสียเป็นหลักพัน


มาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ สำหรับภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง

ตัวอย่างที่ 1

นาย A มีบ้านพร้อมที่ดิน ราคาประเมิณ 5 ล้านบาท (เราเห็นแล้วว่า ราคาประเมิณ 5 ล้านบาท ไม่ถึง 50 ล้านบาท) สิ่งที่นาย A ต้องทำ ถ้านาย A มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนี้ และ เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ นาย A ไม่ต้องเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เพราะ นาย A มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และ มูลค่าบ้านพร้อมที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท

ตัวอย่างที่ 2

นาย A มีบ้าน 2 หลัง ซื้อเพิ่มเติม (ซื้อคอนโด 1 ห้อง) ราคา 5 ล้านบาท แต่จะเอาชื่อเข้ามาอยูในทะเบียนบ้านนี้ ทำไม่ได้ เนื่องจาก เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้แค่หลังเดียวเท่านั้น ดังนั้น นาย A เลือกใส่ชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมที่ดิน หลังแรก บ้านและที่ดิน หลังนี้ ได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนคอนโดที่ซื้อมาใหม่ ไม่ได้รับการยกเว้น เพราะว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน สิ่งที่เกิดขึ้น นาย A ต้องเสียภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ในส่วนของ คอนโดนั่นเอง และ ถ้าคิดภาษีออกมา ส่วนของคอนโด จะต้องเสียภาษี (ราคาประเมิณxอัตราภาษี) 5,000,000 บาท x 0.02 = 1,000 บาท นี่คือ สิ่งที่ นาย A ต้องเสียภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง กรณีที่มีบ้าน 2 หลัง


สรุป สำหรับ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง มี อยู่ 3 ข้อ

1️⃣รู้ว่าตัวเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อะไรบ้างมีที่ดิน มีสิ่งปลูกสร้าง มีคอนโด วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เรายังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่หรือเปล่า ถ้าเรายังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นอยู่ เรามีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง

2️⃣เวลาได้หนังสือ จากองศ์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งว่าเรา มีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และ ใช้ประโยชน์อย่างไร ให้เราเช็คข้อมูลให้ดี ถ้าไม่ถูกต้องให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ให้เจ้าหน้าที่ประเมิณให้ใหม่เพื่อจะได้คิดภาษีได้ถูกต้อง

3️⃣ใครมีบ้านหลายหลัง เอาชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านหลังที่มีราคาแพงที่สุด น่าจะได้ประโชน์ที่สุด ถ้าใครมีทรัพย์สินหลากหลายก็อย่าลืม วางแผนเรื่องของ ภาษีที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างไว้ด้วยครับ



สนใจสร้าง โกดัง โรงงาน คลังเก็บสินค้า

โทร.087-892-3220

Line ID : @ kodanghappy

www.Kodanghappy.com

YouTube : Kodanghappy

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *